การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ทำอย่างไร

  • 718
การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ทำอย่างไร

การตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด เป็นส่วนสำคัญในการจัดการโรคเบาหวานในชีวิตประจำวัน เราสามารถติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของเราได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลสุขภาพ และปรับแผนการจัดการโรคเบาหวานตามความจำเป็นได้ดียิ่งขึ้น

 

ผู้สูงอายุตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ

ผู้สูงอายุตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ

 

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง SMBG

SMBG (Self-monitoring blood glucose) คือ การตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดของตนเอง ด้วยเครื่องมือตรวจระดับน้ำตาล (Glucose meter) โดยวิธีการทดสอบที่ปลายนิ้ว ซึ่งสามารถทำได้สม่ำเสมอ ทุกเวลา
 

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

 

วิธีตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของคุณด้วยตนเอง SMBG

  1. ล้างมือให้สะอาดอย่างน้อย 20 วินาทีด้วยสบู่
  2. ใช้อุปกรณ์เจาะปลายนิ้ว และไม่ควรใช้นิ้วเดียวกันติดต่อกัน
  3. หยดเลือดลงบนแถบทดสอบ และอ่านค่าด้วยเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Glucose meter)

 

** ข้อควรระวังก่อนการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด

การรับประทานยาวิตามินซีในขนาดสูง หรือภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ส่งผลต่อการตรวจได้

 

บุคคลที่ควรได้รับการตรวจ SMBG

  1. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
  2. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาอินซูลิน
  3. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาอินซูลิน แต่ยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้
  4. ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์
  5. ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยๆ เช่น อาการเหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย หิว โหยของหวานนอกมื้ออาหาร หรือช่วงกลางคืน

 

ผลการตรวจระดับน้ำตาลของผู้ที่เป็นเบาหวาน

ผลการตรวจระดับน้ำตาลของผู้ที่เป็นเบาหวาน

 

ค่าระดับน้ำตาลในเลือดดูอย่างไร

  • ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่าง 70 - 100 คุณอยู่ในภาวะปกติ
  • ระดับน้ำตาลในเลือด เท่ากับ 100 - 125 คุณมีภาวะความเสี่ยง เรียกว่า ภาวะก่อนเบาหวาน หรือเบาหวานแฝง (Prediabetes)
  • ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

ระดับน้ำตาลในเลือด ปกติ เสี่ยง และผู้ที่เป็นเบาหวาน

ระดับน้ำตาลในเลือด ปกติ เสี่ยง และผู้ที่เป็นเบาหวาน

 

การสรุปผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง SMBG ที่ดี จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเอง ปรับพฤติกรรม และช่วยให้แพทย์ปรับการรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดอาการแทรกซ้อน และโรคแทรกซ้อนเรื้อรังระยะยาวของโรคเบาหวานได้

 

บทความสุขภาพอื่นๆ