ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน
ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน จะเกิดกับผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง ร่วมกับภาวะกรดคีโตนคั่ง DKA (Diabetic Ketoacidosis)
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มักทำให้เกิดอาการใจสั่น อ่อนเพลีย สับสน เกร็ง เป็นลม นำไปสู่อาการชัก และหมดสติ โดยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นสูงกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ใช้ยาลดน้ำตาล หรือ ฉีดอินซูลิน - ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ชนิดที่มีกรดคีโตนคั่ง DKA (Diabetic Ketoacidosis) คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรด เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (พึ่งอินซูลิน) คือมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้ร่างกายสร้างคีโตน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดออกมาในกระเแสเลือดมาก ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด มักทำให้เกิดอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย เหม่อลอย หอบลึก ช็อก หมดสติ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
กลุ่มที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง
ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มักเกิดขึ้นในระยะยาว โดยส่วนใหญ่มักเป็นความเสื่อมของเส้นเลือด ที่ไปหล่อเลี้ยงตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ สมอง หัวใจ ไต ตา และหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน โดยเฉพาะบริเวณต้นขา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานนั่นเอง โดยภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังสามารถแบ่งออกเป็น ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดใหญ่ และภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดเล็ก
- ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดใหญ่
ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดใหญ่ (Macrovascular) เกิดในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด เกิดภาวะหลอดเลือดตีบแข็ง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดใหญ่ คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ทำให้เกิดบาดแผลเบาหวานที่เท้าได้ - ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดเล็ก
ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดเล็ก ที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมของเส้นเลือด ที่พบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตา ไต และทางระบบประสาทได้
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรด
ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างที่มากับโรคเบาหวาน มักค่อยเป็นค่อยไปจนผู้ป่วยไม่ทันสังเกตเห็นความผิดปกติในระยะเริ่มแรก ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปจนทำให้อวัยวะต่างๆ เสียหาย ดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และการพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามนัดหมาย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้
บทความสุขภาพอื่นๆ
623 เด็กก็สามารถเป็นเบาหวานได้ คนส่วนใหญ่คิดว่า โรคเบาหวานสามารถพบได้ในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริง เด็กและวัยรุ่นก็สามารถเป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน
1,241 รายการอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และการควบคุมอาหาร จะสามารถบรรเทาอาการของโรคได้
925 CGM (Continuous Glucose Monitoring) เครื่องมือตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน การใช้งาน- ข้อดี-ข้อเสียในการใช้เครื่องมือตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
1,140 SMBG (Self-monitoring blood glucose) คือ การตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดของตนเอง ด้วยเครื่องมือตรวจระดับน้ำตาล (Glucose meter) โดยวิธีการทดสอบที่ปลายนิ้ว
2,947 น้ำตาลในเลือดคืออะไร? การวัดค่าน้ำตาลในเลือด ระดับค่าน้ำตาลในเลือดปกติ สูง-ต่ำ เด็ก-ผู้ใหญ่ การตรวจน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไหร่ที่เป็นอันตราย?
682 โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลักๆ ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีความแตกต่างกันในหลายด้าน เรามาดูรายละเอียดกัน
1,290 เมล็ดกาแฟสดสีเขียวที่ไม่ผ่านการคั่ว เมื่อนำไปสกัดจะได้ สารพอลิฟีนอล ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยยับยั้งการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยว
726 สารสกัดไคโตซาน Orisett เป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักของเครื่องดื่ม A’Lar ปรับสมดุลระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหลังมื้ออาหาร เพิ่มศักยภาพของฮอร์โมนอินซูลิน
1,255 ขิงมีส่วนควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังช่วยต้านเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ และลดความรุนแรงของการอักเสบได้
1,114 ผลไม้ชนิดนี้มีวิตามินซีสูงมาก ผลสด 100 กรัม จะให้วิตามินซีประมาณ 1,500-4,500 มก. (มากกว่าส้มหรือมะนาวประมาณ 50-100 เท่า)