"โรคเบาหวาน" ภัยเงียบสำหรับเด็กและวัยรุ่น

  • 622
"โรคเบาหวาน" ภัยเงียบสำหรับเด็กและวัยรุ่น

ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า เด็กก็สามารถเป็นเบาหวานได้ คนส่วนใหญ่คิดว่า โรคเบาหวานสามารถพบได้ในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริง เด็กและวัยรุ่นก็สามารถเป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน เด็กและวัยรุ่นสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็นกันมากขึ้น เพราะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น การกินอาหาร Fast Food หรืออาหารที่หวานจัด เป็นอาหารประเภทแป้งในสัดส่วนที่สูง มีแคลอรี่สูงต่อมื้อ การเกิดโรคอ้วน ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นต้น

 

เด็กและวัยรุ่นก็สามารถเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะเด็กอ้วน

เด็กและวัยรุ่นก็สามารถเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะเด็กอ้วน


ทำไม? เด็กและวัยรุ่นถึงเป็นโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน Diabetes คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง  ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องในการหลั่ง อินซูลิน Insulin จากตับอ่อน ที่ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม สำหรับเด็กที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานนั้น ร่างกายจะผอม และน้ำหนักลด เป็นต้น

 

เด็กที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานนั้น ร่างกายจะผอม และน้ำหนักลด

เด็กที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานนั้น ร่างกายจะผอม และน้ำหนักลด

 

โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

เบาหวานสามารถเป็นได้ตั้งแต่เด็กๆ เบาหวานที่พบบ่อยในเด็ก มี 2 ประเภท คือเบาหวานชนิดที่ 1 พบร้อยละ 70 – 80 และเบาหวานชนิดที่ 2 พบประมาณร้อยละ 20 ซึ่งโรคเบาหวานในเด็กจะแตกต่างจากโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ เพราะโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นกับเด็กนั้น จะทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนได้เยอะกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากว่าเด็กมีการเจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ จึงส่งผลให้การรักษา การควบคุมอาการของโรคไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่ นั่นเอง
เบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็กและวัยรุ่น : เกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมน อินซูลิน Insulin ทำให้เซลล์ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้
เบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กและวัยรุ่น : เกิดจากฮอร์โมน อินซูลิน Insulin ที่มีพอเพียง  แต่ไม่สามารถทำงานได้  เนื่องจากเซลล์ร่างกายดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน

 

การตรวจน้ำตาลในเลือด สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ที่อ้วนและมีความเสี่ยง

การตรวจน้ำตาลในเลือด สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ที่อ้วนและมีความเสี่ยง

 
สาเหตุที่เกิดโรคเบาหวานในเด็ก

เบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็ก : เกิดได้ตั้งแต่อายุยังน้อย มักมีปัจจัยจาก พันธุกรรม  การติดเชื้อไวรัส  ทำให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิต้านทานไปทำลายเซลล์ตับอ่อน ทำให้สร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ
เบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็ก : มักมีปัจจัยจากพันธุกรรม อายุมากขึ้น เชื้อชาติ ภาวะอ้วน และทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า หรือ มากกว่าปกติ เด็กและวัยรุ่นสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็นกันมากขึ้น เพราะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น การกินอาหาร Fast Food หรืออาหารที่หวานจัด ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้เด็กไทยเป็นโรคอ้วน นั่นเอง

 

การกินอาหาร Fast Food หรืออาหารที่หวานจัด ส่งผลให้เด็กไทยเป็นโรคอ้วน

การกินอาหาร Fast Food หรืออาหารที่หวานจัด ส่งผลให้เด็กไทยเป็นโรคอ้วน

 

ลักษณะของเด็กที่เป็นโรคเบาหวาน

เบาหวานชนิดที่ 1 มักมีอาการปัสสาวะเยอะ ดื่มน้ำบ่อย ทานเก่งแต่น้ำหนักลดลง  อ่อนเพลีย ไม่มีแรง  เด็กกลุ่มนี้มักมีรูปร่าง ผอม
เบาหวานชนิดที่ 2 มักพบในเด็กที่อ้วน  ผิวหนังต้นคอ หนา ดำ  มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานหลายคน  ผู้ปกครองจึงพามาตรวจคัดกรอง เบาหวานในเด็ก ซึ่งเมื่อถามอาการ จะมีอาการร่วมคือปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก เช่นเดียวกัน

 

เด็กที่มีอาการผิดปกติ

เด็กที่มีอาการผิดปกติ


การป้องกันโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น

การป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 1 : สำหรับเด็กที่พบว่าเป็นเบาหวาน ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล หากพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะรดที่นอน กินเก่งแต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ ให้รีบพบแพทย์
การป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 : สามารถป้องกันได้ดังนี้

  1. ฝึกกินอาหารรสธรรมชาติ เพิ่มผัก ผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
  2. ไม่ควรสะสมอาหาร หรือ ขนมภายในบ้าน และไม่ให้ขนมเป็นรางวัลแก่เด็ก
  3. เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่สนับสนุนให้ดูโทรทัศน์หรือมือถือนานๆ
  4. ตรวจคัดกรองโรค โดยการตรวจน้ำตาล ในเด็กอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ที่อ้วนและมีความเสี่ยง เช่น พ่อ แม่พี่น้องเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 130/85 มก/ดล และเด็กที่มีปื้นดำที่คอ ที่รักแร้ ลักษณะคล้ายขี้ไคลแต่ขัดไม่ออก เป็นลักษณะที่แสดงว่าดื้อต่ออินซูลิน

 

ปัจจุบันในวงการแพทย์ยังไม่มีวิธีป้องกันได้ 100% สาเหตุที่พบมาจากกรรมพันธุ์ และมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป แต่การดูแลและป้องกันเบื้องต้น ไม่ให้เกิดโรคเบาหวานนั้นสามารถป้องกันได้ โดยการปรับการใช้ชีวิตประจำวันให้มีวินัยมากขึ้น เลี่ยงอาหารที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรค เช่น อาหารที่มีน้ำตาล และไขมันแคลอรีสูง ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็จะสามารถลดความเสี่ยง ที่จะเป็นโรคเบาหวานในเด็กได้มากแล้ว

 

บทความสุขภาพอื่นๆ